พระปทุมมาศ
หน้าแรก » กรุพระ » พระดัง (อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต) » พระปทุมมาศ
ในบรรดากรุพระที่ขึ้นชื่อลือชาที่สุดกรุหนึ่งเห็นจะไม่พ้น‘กรุองค์ปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจ.สุพรรณบุรี’ที่แม้จะรับอิทธิพลของศิลปะอู่ทองอันเป็นช่วงคาบเกี่ยวผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัยและอยุธยาซึ่งภายในนอกจากจะพบพระเครื่องศิลปะอู่ทองและพื้นบ้านอาทิพระผงสุพรรณพระมเหศวรพระกำแพงคืบกำแพงนิ้วพระสุพรรณหลังผานพระกำแพงละเวงพระนาคปรกและอื่นๆแล้วยังพบพระเครื่องที่มีศิลปะชั้นสูงเข้าใจว่ามีการนำมาบรรจุกรุเพื่อแสดงถึงสัมพันธไมตรีระหว่างเมืองต่างๆเช่นพระลีลาอันงดงาม อย่างพระลีลากำแพงศอกและที่จะเว้นไม่กล่าวเสียมิได้ก็คือองค์พระสำคัญที่มีนามว่า“พระปทุมมาศ"


วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี

           อาจารย์มนัสโอภากุลผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีเมืองสุพรรณบุรีได้ให้ความหมายไว้ว่า “ปทุม” แปลว่าดอกบัว ส่วน “มาศ” แปลว่าทองคำซึ่งพระปทุมมาศจะมีลักษณะแตกต่างจากพระอื่นๆกล่าวคือมีสัณฐานคล้ายดอกบัวบานองค์พระประทับนั่งปางสมาธิกรอบที่เป็นดอกบัวกว้างรวม3.5x5.4  ซ.ม. และรอบนอกขอบเป็นรอยหยักพบเป็นเนื้อชินเงินเฉกเดียวกับพระมเหศวรพระพักตร์องค์พระพุทธรูปออกไปทางศิลปะขอมตอนพบผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าเจอไม่เกิน10 องค์จึงเป็นพระที่หาได้ยากยิ่งปัจจุบันองค์เห็นหน้าเห็นตาต้องมีหลายหลายแสนขึ้นไป


 พระปทุมมาศ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี

            สำหรับองค์พระที่ประทับนั่งปางสมาธินี้มีข้อพึงสังเกตคือท่านประทับนั่งอยู่เหนือเส้นอาสนะในลักษณาการขัดสมาธิราบหากใช้กล้องส่องดูด้านหน้าบริเวณขอบข้างด้านบนจะเป็นเส้นประภามณฑลเรียวบางคล้ายเส้นด้ายพระเกศเป็นลักษณะสวมหมวกชีโบตามอย่างศิลปะขอมที่ปะปนเข้ามาในศิลปะอู่ทองและเมืองสุพรรณบุรีก็เป็นเมืองหนึ่งซึ่งศิลปะประเภทนี้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมามาก ปลียอดพระเกศจิ่มสั้นหน้าผากมีรอยเว้าลึกคล้ายๆศิลปะพระผงสุพรรณอันลือลั่นเช่นกันพระพักตร์มีลักษณะกลมป้อมพระอังสานูนเกือบปรากฏอยู่กึ่งกลางองค์พระพระศอสั้นแทบติดกับพระอังสะพระอุระด้านบนผายกว้างด้านล่างค่อยสอบแคบลงมาถ้านึกถึงลำพระองค์พระผงสุพรรณจะเข้าใจได้ง่ายเพราะเปรียบเทียบไว้ว่าเหมือนเศียรช้างแล้วทอดงวงลงมาเบื้องล่างแต่‘พระปทุมมาศ’ลำพระองค์ยังไม่ชัดเจนเท่าแต่มีเค้าว่าสกุลช่างมาในทิศทางเดียวกันส่วนพระกรเรียวเล็กและหักมุมทำให้องค์พระแลดูผึ่งผายและน่าแปลกใจที่รอยหยักรอบนอกที่เป็นจุดเด่นของดอกบัวมิได้ทำให้องค์พระด้อยหรือถูกข่มลงหากแต่เป็นการส่งเสริมกันและกันให้ดูสมบูรณ์เต็มที่ยากจะหาพระที่มีรูปลักษณะแปลกตาและสมบูรณ์ได้เทียบเท่า

            มากล่าวถึง “เนื้อ” อีกเล็กน้อยดังที่ทราบกันแล้วว่าองค์พระพบน้อยมากและมีขนาดเขื่องทั้งหมดประมาณ10 องค์พบเพียงเนื้อเดียวเท่านั้นคือ‘เนื้อชินเงินผสมตะกั่ว’บางองค์หากแก่ตะกั่วจะมี‘สนิมสีแดง’แทรกขึ้นมาบ้างส่วนในองค์ที่แก่ชินเงินจะเห็นเป็น‘สนิมตีนกา’ กระจายอยู่ทั่วไปสมตามอายุที่มีมากว่า600 ปี


พระปทุมมาศ พระเกจิ

            ต่อข้อถามว่าทำไมคนโบราณจึงสร้างพระขนาดเขื่อง (เมื่อเทียบกับพระอื่นทั่วไป) และสร้างเป็นจำนวนน้อยประการสำคัญคือพุทธลักษณะดูแปลกหูแปลกตาเรียกว่าถ้าไม่ใช่นักเลงพระรุ่นเก๋าจริงๆน้อยคนนักจะได้เห็น‘พระปทุมมาศ’ ของแท้ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่า การนำพระพุทธรูปจากเมืองอื่นๆมา “ร่วมบุญ” เมื่อเมืองที่เป็นสัมพันธไมตรีก่อร่างสร้างศาสนสถานนั้นเป็นธรรมเนียมมที่ถือปฏิบัติกันมาเนิ่นนานแล้วและพระพุทธที่ส่งมาร่วมบรรจุกรุมักจะมีความงามเป็นเลิศแสดงถึงศิลปะเชิงช่างชั้นสูงทั้งวิธีการแกะแม่พิมพ์เทคนิคในการหล่อวัสดุที่ใช้ตลอดจนความงดงามของศิลปะและที่เหนืออื่นใดบางองค์ยังพบลักษณะการเป็นตัวแทนขององค์พระมหากษัตริยหรือเจ้าผู้ครองแคว้นเช่นกรณีพระชัยวรมันที่7 ซึ่งทรงส่ง‘พระมหาชัยพุทธมหานาท’ มาประดิษฐานตามปราสาทหินที่พระองค์ก่อสร้างเป็นการแสดงพระราชอำนาจหรือสัมพันธไมตรีเหนืออาณาเขตนั้นๆ

            กรณี “พระปทุมมาศ”นี้ศิลปะองค์พระที่ประทับกึ่งกลางมีอิทธิพลของขอมปรากฏอยู่ชัดเจนและการสร้างปทุมมาศเป็นพื้นหลังนั้นเป็นการกล่าวถึง‘พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์’ซึ่งในตำนานขอมหลายฉบับกล่าวตรงกันว่าเป็นบรรพบุรุษผู้สร้างเมืองของขอมที่สำคัญคือทรงมีความสัมพันธ์กับ ‘พญานาค’ อันเป็นบรรพบุรุษฝ่ายสตรีของขอมอย่างแน่นแฟ้นถึงขนาดมีการสร้างและเรียกพระกริ่งเขมรบางประเภทว่า‘พระกริ่งปทุมสุริยวงศ์’ ในขณะที่อาณาจักรสุโขทัยได้ส่ง‘พระลีลากำแพงศอก’ อันงดงามอย่างถึงที่สุดมาร่วมบรรจุกรุที่พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุจ.สุพรรณบุรีดังนี้การชิงความได้เปรียบจึงมิใช่หมายถึงการต่อสู้ทางแสนยานุภาพของกองทัพอย่างเดียวหากแต่ล่วงเลยไปถึงการแสดงออกทางด้านศิลปะด้วยแสดงให้เห็นว่าทั้งขอมและสุโขทัยยังมีอิทธิพลในบริเวณสุพรรณบุรี (ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นด้านกองทัพอย่างเดียว) ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและด้วยความนิยมใน “พระปทุมมาศ” นี้เองทำให้บรรดาเกจิอาจารย์ผู้ขมังเวทย์พากันจัดสร้างพระปทุมมาศกันแพร่หลายสืบต่อมาครับผม

 

โดย อาจารย์ราม วัชรประดิษฐ์ แฟนพันธุ์แท้พระเครื่อง

Share : แบ่งปันไปยัง facebook

 พระดัง (อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต)อื่นๆ

ประกาศจากระบบ