วัดมหาวัน
ตามตำนานกล่าวไว้ว่า “พระรอด” สร้างในสมัยทวาราวดีเมื่อนับพันปีมาแล้ว สมัยที่พระนางจามเทวี ปกครองเมืองหริภุญไชย พระนางทรงสถาปนาพระอาราม ชื่อ จตุรพุทธปราการ (วัดมหาวัน) ขึ้น จึงดำริให้สร้างพระเจดีย์ไปพร้อมกัน พร้อมทั้งบรรจุ “พระรอด” ไว้ โดย พระสุมณานารทะฤาษี เป็นผู้สร้าง
เอกลักษณ์สำคัญของ “พระรอด” คือ เป็นพระกรุเก่าแก่ที่มีการค้นพบเฉพาะที่ วัดมหาวัน จ.ลำพูน เท่านั้น และแรกเริ่ม ‘พระรอด’ คงบรรจุอยู่ในพระเจดีย์โบราณ แต่ต่อมาพระเจดีย์ได้โค่นล้มลง พระรอดจึงตกอยู่ในดินกระจัดกระจายทั่วไป ทำให้มีการแตกกรุของ ‘พระรอด’ ในหลายครั้งหลายครา
ครั้งแรก ปี พ.ศ.2435-2445 สมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ ทำให้พบพระรอดจำนวนมากภายใต้ซากเจดีย์เก่า ประมาณปี พ.ศ.2451 สมัยเจ้าหลวงอินทิยงยศ เห็นว่ามีต้นโพธิ์ขึ้นแทรกบริเวณฐานพระเจดีย์วัดมหาวัน และมีรากชอนลึกจนทำให้พระเจดีย์มีรอยร้าวหลายแห่ง จึงให้ช่างรื้อฐานและปฏิสังขรณ์ใหม่ ก็พบพระรอดจำนวน 1 กระเช้า จึงนำแจกจ่ายบรรดาญาติวงศ์เจ้าลำพูน ในปี พ.ศ.2497 มีการปฏิสังขรณ์วิหาร เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พบพระรอดไม่กี่องค์ แต่พบ พระคง พระบาง พระสาม พระสิบสอง และพระรอดหลวง ปี พ.ศ.2498 ทำการปฏิสังขรณ์กุฏิเจ้าอาวาสในสมัยนั้น ในการขุดเพื่อลงรากฐานก่อสร้าง พบพระรอดกว่า 200 องค์ แทบทุกองค์เป็นพระที่งามและเนื้อจัด มีหลายพิมพ์ทรง และหลังปี พ.ศ.2500 ก็ยังมีการขุดหาพระรอดโดยรอบบริเวณวัดมหาวันอยู่
สำหรับ “พระรอด” ที่นับได้ว่าเป็นองค์สำคัญในชุดเบญจภาคี คือ "พระรอด พิมพ์ใหญ่" ซึ่งมีพุทธลักษณะและพุทธศิลปะที่งดงามมาก และมีการทำเทียมสูงสุด มีหลักการพิจารณาในเบื้องต้น ดังนี้
การจะหาดูหาเช่า ‘พระองค์สำคัญ’ ระดับประเทศ นั้น ต้องรอบรู้ รอบคอบ ละเอียด ถี่ถ้วน สดับตรับฟังกูรู และควรหาผู้ไว้เนื้อเชื่อใจได้เพื่อช่วยดูช่วยตัดสินใจครับผม
โดย อาจารย์ราม วัชรประดิษฐ์ แฟนพันธุ์แท้พระเครื่อง
Share :
|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |